Problem Space VS Solution Space
KJ’s leadership series #5
Problem space (What) และ Solution space (How) เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการออกแบบ Solution ที่เน้นความเข้าใจในปัญหาของลูกค้าหรือผู้ใช้มาเป็นเป้าในการพัฒนา Product เราใช้สองพื้นที่นี้ในการคิดหา Solution ที่ใช่เพื่อสร้างให้เกิด Product-Market fit
ใน Probelm space เรามักจะพูดถึง Narratives หรือปัญหาและความต้องการของผู้ใช้ผ่านการเขียนให้อยู่ในรูปแบบของ User stories ก่อนที่เราจะหยิบแต่ละ User Story มาคิดหา “The right solution”. ในระยะแรกของการเริ่มต้นสร้าง Product เราอาจจะต้องตั้งสมมุติฐานว่าอะไรเป็นปัญหาหรือ Painpoints ของผู้ใช้ไปก่อนเพื่อที่เราจะได้ลองคิดหรือจิตนาการถึง Solution ของปัญหานั้นๆแล้วเอาไปทดสอบกับผู้ใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลป้อนกลับมา Recheck หรือ Identify ว่าปัญหามันใช่อย่างที่เราคิดไว้จริงๆหรือเปล่า
สิ่งที่น่าสนใจในการหา Product-Market Fit คือการทำงานกลับไปกลับมาระหว่างสอง Spaces นี้ จะเห็นได้ว่าผู้ใช้สนใจที่จะแก้ปัญหาของตัวเองแต่อาจจะไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาอะไร หรือสิ่งที่คิดว่ามันเป็นปัญหามันเป็นปัญหาจริงๆหรือไม่ ซึ่งไม่ว่าผู้ใช้จะเข้าใจหรือไม่เข้าใจปัญหาของตัวเองมากน้อยขนาดไหน การ Identify ปัญหาไม่ได้มีความสำคัญกับผู้ใช้เท่าไรนักแต่กลับเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับพวกเราซึ่งเป็นคนที่จะต้องสร้าง Solution ตัวอย่างที่ Classic มากของการ Identify ปัญหาผิดคือ Case Study ของบริษัท Fisher Pen Company ที่พยายามอย่างมากในการแก้ปัญหาให้นักบินอวกาศของ NASA ที่ไม่สามารถใช้ปากกาบนอวกาศได้เนื่องจากสภาวะ Zero gravity บริษัทนี้เลยใช้เวลาและทรัพยากร (ประมาณ 1 ล้านเหรียญในตอนนั้น) เพื่อการคิดค้น “Space Pen” ขึ้นมาจนสำเร็จในปี ค.ศ. 1965 ในขณะที่นักบินอวกาศของรัสเชียได้ Identify ปัญหาของการหาอุปกรณ์ในการเขียนบน Space ด้วยการใช้ “ดินสอ”
จะเห็นได้ว่าการ Identify ปัญหาที่แม่นยำทำให้เราเข้าใจถึงตลาดและทราบว่าใครเป็นคู่แข่งที่แท้จริงในการพัฒนา Product ของเรา จากตัวอย่างด้านบนถ้าเราคิดว่าเราจะทำ Space pen เราอาจจะมองไม่เห็นคู่แข่งในตลาดเลยซักราย แต่ถ้าเราคิดว่าเราจะทำเครื่องมือในการเขียนบนอวกาศ ตลาดและคู่แข่งจะเปลี่ยนไปทันที
ในหนังสือหน้า 21 พูดไว้ว่า .. “Customers don’t care about your solution. They care about their problems” ซึ่งในความเป็นจริงถึงแม้ลูกค้าจะไม่ได้สนใจว่า Solutions จะเป็นยังไง แต่พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่ดีที่สุดเลยที่จะให้ Feedback ใน Solution Space ถ้าพวกเราโตกันอีกหน่อยแล้วเริ่มได้ทำงานกับผู้บริหารมากๆแล้วจะเข้าใจ Feeling นี้เลย เช่น เวลาเราไปถามว่าอยากได้อะไร ส่วนมากเราจะได้คำตอบว่าไม่รู้ หรือคำตอบแนวเฉียดๆ ตอบแบบข้างๆหรือถูกตั้งคำถามกลับ ทำให้เรางงกว่าเดิม แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเอา Soltuions หรือภาพของ Solutions ไปให้ดู คราวนี้หละรู้เลยว่าชอบหรือไม่ชอบ ใช่หรือไม่ใช่ อยากได้อะไรที่ในนี้ไม่มีบ้าง
จะเห็นได้ว่า Product — Market Fit เนี่ยเกิดจากการเอา Value Proposition มาชนกันกับ Underserved Need ในขณะที่ Solution Space กับ Problem Space จะมาจอกันตรงการเชื่อมต่อระหว่าง Feature Set กับ Value Proposition แปลว่านอกจากเราจะสามารถ Control ว่าเราจะสร้างอะไรด้วย Experience อย่างไร (Feature Set and UX) ใน Solution Space ได้แล้ว เรายังสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนแปลง Product’s Value Proposition ซึ่งอยู่ใน Problem Space เพื่อให้เกิด Product-Market Fit จริงๆ ได้ด้วย
References:
Dan Olsen (2015), The Lean Product Playbook: How to Innovate with Minimum Viable Products and Rapid Customer Feedback (2015) Print ISBN:9781118960875 |Online ISBN:9781119154822 |DOI:10.1002/9781119154822