OBEM — Online Outcome-based Module ของมจธ.ที่เน้นการทำได้แบบเฉพาะเจาะจง

Klangjai S
3 min readSep 16, 2020

--

ทุกครั้งที่เราพูดถึง Module (โมดูล)ในการออกแบบการศึกษา สิ่งที่สะท้อนกลับมาจากการสื่อสารในแต่ละครั้งทำให้เราสรุปได้ว่าหลายๆ ท่านมี Definitions (ของตัวเอง) จากสิ่งที่เคยเห็นหรือเคยเรียกต่อๆ กันมา บางท่านก็คิดว่าโมดูลคือการเอาวิชาหลายๆ วิชามาต่อกันแล้วเรียกกลุ่มวิชาเหล่านั้นว่า Module อีกหลายๆ ท่านก็มองว่า Module คือการเอาวิชามาหั่นเป็นท่อนๆแล้วเรียกชิ้นส่วนย่อยๆ เหล่านั้นว่า Module

ใน Post นี้ เราจะมาพูดถึง Module ในมุมของการออกแบบการศึกษาแบบ Modular based Design ซึ่งเรามองว่ามันเหมือนกับการออกแบบการเรียนรู้ให้เป็นชิ้นส่วนของ Lego ที่สามารถนำมาต่อกันได้ การเรียนรู้ที่เหมือน Lego 1 ชิ้นนี้จะถูกออกแบบให้จบในตัวเอง หมายความว่าเราจะมีเป้าหมายของการเรียนรู้ การวัดผลการเรียนรู้และกระบวนการพัฒนาอยู่ใน Lego ชิ้นเดียวนี่แหละ ถ้าผู้เรียน “ทำได้” ก็จะมีความสามารถพอที่จะนำการเรียนรู้ไปใช้และมีประโยชน์กับชีวิตของผู้เรียนทั้งในเชิงการนำไปทำงานหรือในเชิงการสร้างความสามารถพื้นฐานเพื่อที่จะไปเรียนรู้ Lego ชิ้นต่อๆ ไปได้ และยิ่งผู้เรียนมี Legos หลายๆ ชิ้นที่นำมาต่อกัน ความสามารถของพวกเขาก็จะยิ่งเข้มข้น มีประโยชน์และสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นต่อไป

ทำไมต้องทำให้เป็น Lego ด้วย? แล้ววิชาแบบเดิมมันไม่ดีตรงไหน?

ความตั้งใจหลักของการออกแบบการศึกษาแบบนี้ที่ มจธ.มีจุดเริ่มต้นจากความคิดที่ Simple ว่าเราอยากจะ Unbundle การศึกษาไทยให้หลุดออกจากการมองเป็นหลักสูตรที่ใช้เวลานานในการสร้างและปรับปรุง ซึ่งถ้าเราออกแบบเป็น Lego ได้จริงเราจะสามารถสร้างให้เกิดความยืดหยุ่นในการออกแบบและปรับปรุงการศึกษาให้ทัน ต่อความต้องการของผู้เรียน การสร้างให้เกิด Loop ของการทำ Quality improvement ในฝั่งผู้ออกแบบเป็นการ “บังคับตัวเราเอง” ในฐานะที่เป็น Educator ให้ปรับทั้ง What และ How ของการเรียนรู้ได้รวดเร็ว ตรงและทันต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น การสร้างให้เกิด Chunk ของการออกแบบการเรียนรู้แบบนี้ยังสร้างให้เกิดความง่ายในการปรับเปลี่ยน (Modify) กระบวนการในการพัฒนาโดยมุ่งเน้นการพัฒนา Learning outcome ที่สำคัญเพียงหนึ่งตัวเท่านั้น

ดีต่อผู้เรียน ดีต่อผู้สอน ดีต่อใจ

การที่เรามี Lego หลายๆตัวเอาไว้ต่อกันเพื่อสร้าง competency เป็นสิ่งที่ดีต่อทุกคน

  • ผู้เรียนสามารถสะสมความสามารถเหล่านี้เอาไว้ต่อเองเป็นสิ่งพี่พวกเขาอยากเป็น ซึ่งจะสร้างให้เกิด Personalised path ของแต่ละบุคคลตามความต้องการและความจะเป็นของพวกเขา
  • ผู้สอนหรือผู้ออกแบบอย่างพวกเรา (Educators ทั้งหลาย) สามารถที่จะ Reuse ชิ้นส่วน Legos ที่เคยถูกออกแบบมาแล้วในการวางแผนพัฒนาความสามารถที่หลากหลายโดยไม่จำเป็นต้องสร้างทุกชิ้นส่วนขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะ Legos ที่เป็นส่วนฐานหรือเป็น Fundamental skills และความสามารถพื้นฐานต่างๆ ซึ่งเราเลือกเอามาประกอบกัน Mix, Match, and Modify ได้อย่างรวดเร็ว
  • ผู้ประกอบการหรือประเทศก็จะมีโครงสร้างที่ยืดหยุ่นในการพัฒนาคนเพราะเราจะมี Legos เป็นเครื่องมือในการออกแบบการพัฒนาคนที่ปรับให้เข้ากับบริบทที่แตกต่างกันได้ง่ายขึ้น สามารถสร้างเป็น Learning Pathway หรือ Skill Development Roadmap ที่ตอบโจทย์ได้รวดเร็วและทันต่อการนำไปใช้
OBEM Legos

ถามว่าการสร้างวิชาใหม่ตอบโจทย์การศึกษาที่ยืดหยุ่นหรือไม่? น่าจะต้องเป็นคำถามที่ถามกลับถึงผู้ออกแบบวิชาใหม่ๆ ว่า วิชาใหม่ที่ใส่ไปในหลักสูตรถูกออกแบบมาแบบไหน การออกแบบเป็น Lego เป็นการออกแบบให้

1- ผู้เรียนเห็นถึง Achivement ว่าผู้เรียนจะทำอะไรได้มากกว่าเดิม (ต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับผู้เรียน) เรามอง Demand จากผู้เรียนเป็นตัวตั้งรึเปล่าว่าเขาจะทำอะไรได้ทำอะไรเป็นมากขึ้นจาก Learning experience นี้

2- สร้างให้เกิดความยืดหยุ่นในเรื่องเวลา หมายความว่าผู้เรียนผ่านเพราะ “ทำได้” ไม่จำเป็นต้องจบหรือผ่านพร้อมๆ กัน

3- มี Learning outcome ที่แคบและตั้งใจจะพัฒนาให้เกิดความสามารถเดียว (เอาแบบชัดๆ)ที่ผู้เรียนจะทำได้โดยมีการวัด Learning outcome นั้นๆ มากกว่า 1 ครั้ง

4- มีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกฝน ลองทำ จนแน่ใจว่าผู้เรียน “ทำได้”

ถ้าการออกแบบวิชาตอบโจทย์แบบนี้ เราจะมองว่าวิชาเป็น Lego ได้เช่นกัน

จากการศึกษาที่เอาเวลาเป็นแกน สู่การศึกษาที่เอาความสามารถเป็นแกน

อีกหนึ่ง Painpoint ที่ต้องยอมรับกันของการจัดการศึกษาแบบเก่าๆ คือเรื่องการบริหารจัดการการเรียนการสอนซึ่งเราทำกันจนคุ้นชินว่าเราจะต้องรับผู้เรียนเข้ามาพร้อมๆ กันและประเมินความสามารถพวกเขาตอนปลายเทอมเหมือนๆกันทั้งที่เราทราบว่ามีผู้เรียนส่วนนึงพร้อมและอีกเยอะที่อาจจะยังทำไม่ได้และไม่พร้อมที่จะถูกประเมินความสามารถ (สมมุติว่าจุดสีแดงใน Diagram ด้านล่างเป็นการสอบ) เรายังคงมองกันว่าผู้เรียนจะเรียน “จบ” หลังจากผ่านการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เวลาเป็นแกน ซึ่งในความเป็นจริงคำว่าจบคือเราจบแล้ว หมายถึงไม่ต้องทำอะไรอีก แต่ผู้เรียนจริงๆ แล้วอาจจะ “ไม่จบ” เพราะเวลาไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จถ้าพวกเขายังทำไม่ได้

Time based education system
Time based Education — my interpretation, Klangjai S.T. 2020

แล้วถ้าเราจะเปลี่ยนแกนจากเวลามาเป็นความสามารถของผู้เรียน เราต้องทำอย่างไร? นี่เป็น Challenge สำคัญของพวกเราที่ต้องหาวิธีการพัฒนาผู้เรียนตามความสามารถหรือการทำได้-ทำเป็นของพวกเขาซึ่ง Ideas ของการทำให้เกิดการพัฒนาตามความสามารถที่เราทดลองกันอยู่ตอนนี้คือการออกแบบวิธีการวัดความสามารถผ่าน Micro-Credentials ซึ่งเหมาะกับความสามารถที่เฉพาะเจาะจงโดยแสดงออกให้เห็นได้ผ่านหลักฐานในงานหรือการแก้ปัญหาจริง แต่สำหรับผู้เรียนที่ยังทำไม่ได้/ไม่เป็นและต้องการเรียนรู้ที่มีการวัดความสำเร็จของการเรียนรู้อย่างชัดเจน การออกแบบการศึกษาให้เป็น Lego จะช่วยสร้างให้เกิดการเรียนรู้ “ที่ผู้เรียนเป็นคนเลือก” ตามความจำเป็น ระดับความสามารถ และความต้องการของแต่ละบุคคล

Micro-Credential and OBEM

มาออกแบบ Learning Lego กันเถอะ

จริงๆ แล้วคำถามสำคัญของการออกแบบการศึกษาแบบ Modular based ไม่ใช่แค่เรื่องของ What อย่างเดียวแต่เป็นเรื่องของ how ด้วยว่าเรามีวิธีการอย่างไรที่จะได้มาซึ่ง Module เหล่านั้น เรามาดูกันว่าถ้าเราอยากจะออกแบบการเรียนรู้ให้เป็น Lego หรือเราเรียกชื่อยาวๆ ที่ มจธ.ว่ามันคือ Outcome-Based Education Module (OBEM) เราต้องคิดถึงอะไรบ้าง

  • เป้าหมายในการออกแบบ OBEM เป็นการเน้นที่การ “ทำได้” ซึ่งผู้ออกแบบควรพิจารณาจากเป้าหมายเชิง Competency development โดยเน้นการแบ่งให้เกิดหลายๆ Module ตามโครงสร้าง ลำดับและธรรมชาติของการพัฒนา Competency นั้นๆ
  • การออกแบบเป็นชุด เพื่อให้เห็น Pathway ที่ร้อยเรียงกันตามโครงสร้าง ลำดับและธรรมชาติของการพัฒนา Competency การออกแบบเป็น Pathway/Roadmap จะสร้างให้เกิด Flow ของการพัฒนาความสามารถที่เป็นลำดับขั้นโดยแต่ละ OBEM จะเป็น “Self-contained chunk” ที่จบในตัวเองโดยอาจจะมีความเชื่อมต่อกับ OBEMs ตัวอื่นๆในโครงสร้างเดียวกัน

องค์ประกอบของ OBEM คร่าวๆ

1. มีการกำหนด Significant learning objective/outcome ไว้ 1 ตัว (focus at single competency development) โดยต้องมี Performance criteria ที่บอกว่าอะไรเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้เรียนได้แสดงออกถึง ระดับของ Performance ที่บอกถึง Achievement of learning outcome การมี Performance criteria ในรูปแบบของ Rubric scoring นี้จะช่วย Set expectations ให้ผู้เรียนทำให้ผู้เรียนทราบว่าต้องทำอะไรได้ ทำได้อย่างไร ในระดับอะไรและสร้างให้เกิดความยุติธรรมและ Consistency ของการวัดผลการเรียนรู้

2. ควรมีการวัด Learning outcome ให้แน่ใจว่าเกิดการทำได้ในระดับเดียวกันอย่างน้อย 2 ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนทำได้ไม่ใช่แค่ได้ลองทำ โดยมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน ลองทำ และได้รับ Feedback ก่อนที่จะมีการวัด Learning outcome อย่างพอเพียงเสมอ ซึ่งกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลอง ฝึกฝนเหล่านั้นต้องไม่มีผลต่อการวัด Learning outcome (Note: Assessment of learning outcomes should be authentic as much as possible)

3. มีการพัฒนาผู้เรียนที่เน้นการทำได้ตาม Learning Outcome ที่ระบุไว้โดยเป็นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online หรือ Hybride โดยต้องมีการเก็บผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แสดงถึงระดับของการทำได้ไว้ตลอดระยะเวลาการพัฒนาความสามารถและสามารถกำหนดระยะเวลาในการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละ Module ประมาณ 2–4 สัปดาห์

ถ้าดูกันให้ชัดๆ จริงๆ จะเห็นว่าการออกแบบให้เป็น Lego หรือ OBEM ไม่ได้มีอะไรใหม่เลย เป็นแค่การออกแบบการศึกษาตามหลักการ Outcome Based Education ปกติที่เน้นในเรื่องการพัฒนาและวัด Learning outcome ตัวเดียวให้เรามั่นใจว่าถ้าผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้และการวัดผลนี้แล้วพวกเขาจะ “ทำได้”

References

Using a Modular Approach to Course Design, Online: https://www.boisestate.edu/ctl-idea/teaching-with-tech/primer/using-a-modular-approach-to-course-design/

KMUTT Micro Credential Project, https://www.4lifelonglearning.org/

--

--

Klangjai S
Klangjai S

Written by Klangjai S

Assistant to the president for educational development, KMUTT, Director of Education Technology Integration and Service -ETS, 4lifelonglearning-Microcredentail

Responses (1)