OBEM ทำไปทำไม ฉบับอาจารย์ มจธ.
OBEM หรือ Outcome-Based Education Module เป็นการออกแบบการพัฒนาผู้เรียนเพื่อการันตี Learning Outcome ในระดับ Module คล้ายๆการออกแบบให้เป็น ชิ้นส่วน Lego ที่สามารถนำมาต่อกันได้ เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้แบบ Non-linear (บางครั้งก็เรียกว่าแบบ Modular-based [1]) ที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกต่อ Legos เหล่านี้ให้ตรงกับความต้องการเชิงอาชีพระดับบุคคลได้
คุณสมบัติหลักของ Lego คือจะต้องการันตี Learning Outcome, ใช้เวลาไม่นานมาก (typically short in duration), แยกกันพัฒนาได้ (independent & self-contained), และสามารถนำมาต่อกันได้ (stackable) ในระบบ OBEM ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน Lego ชิ้นไหนก่อนหลังได้ตามความจำเป็น สะสมผลการเรียนรู้ได้โดยไม่มีการกำหนดระยะเวลา หรือให้เวลานานพอจนมั่นใจว่าน่าจะทำได้จริง (self-paced)
ในบริบทของ มจธ. แนวคิดในการบริหารระบบการศึกษาแบบนี้จะช่วยให้เราสามารถโยกย้ายสิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ (mobilise access to higher education) ให้กับผู้เรียนกลุ่มเก่าและใหม่ได้ง่ายขึ้นโดยเน้นการเรียนรู้ตาม pace ในการพัฒนา competency ของผู้เรียนให้เป็นตัวบอกความเร็วช้าในการเรียนที่เกิดได้ทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป (gradual)[3] หรือเร่งด่วน (ในกรณีที่ผู้เรียนทำได้แล้ว) จากการมี Learning pathways ที่เป็นขั้นเพื่อคงความเป็น sequential and integrative learning รวมถึงการบ่มเพาะ higher-ordered thinking ไว้โดยให้ความสำคัญกับการทำได้ทำเป็นในสถานการณ์จริงมากกว่าการทำได้ทันในเวลาที่จำกัด ซึ่งถ้าทำได้จะทำให้เราสามารถสร้างระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาได้ทันและตรงต่อความต้องการมากขึ้น เร็วขึ้นในขณะเดียวกันก็เอื้อกับการเรียนรู้ที่แตกต่างของผู้เรียนในระดับบุคคล
The great OBEM driving forces
1 — การันตีคุณภาพการศึกษาที่ละขั้นเพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาทำได้จริง
การใช้การทำได้ทำเป็นของผู้เรียน เป็นเป้าหลักในการพัฒนาเป็นหลักการสำคัญของ OBE ซึ่งการทำได้ทำเป็นแต่ละอย่างใช้เวลาในการพัฒนาที่แตกต่างกัน การการันตีคุณภาพว่าผู้เรียนทำได้ทีละขั้นนี้จะทำให้เราสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดของการพัฒนาที่ต้องผูกกับวิชาและภาคการศึกษาโดยมีกรอบของเวลามาบังคับ ให้เราต้องพยายามวางเป้าการพัฒนาให้พอดีกับเวลา 15 weeks เพื่อให้ปิด การจัดการเรียนรู้และประเมินผลให้ทันในระยะเวลา 1 เทอมซึ่งการจัดการโดยใช้เวลาเป็นแกนนี้ทำให้เราไม่สามารถการันตีคุณภาพได้ เพราะเราไม่สามารถยืดขยายเวลาให้เร็วช้าได้ตามความจำเป็นในการพัฒนา competency ที่หลากหลายของผู้เรียน
2 — การสร้างความสามารถสู่อาชีพและการมีงานทำอย่างรวดเร็ว
“ถ้า” เรามี Legos จำนวนมากจากหลายศาสตร์ที่สามารถนำมาต่อกันเป็น Learning Pathway ที่เฉพาะของแต่ละบุคคล (Individualised learning pathway) เรา “จะ” สามารถพัฒนากำลังคน แก้ปัญหาที่เฉพาะ ตอบโจทย์อาชีพอนาคตที่ยังไม่เคยมี (คาดเดาไม่ได้และเกิดใหม่ตลอดเวลา) ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องรอการปรับปรุงหลักสูตรตามรอบ ไม่ต้องเปิดตามเทอม (non-semester) OBEM legos เป็นโครงสร้างสำคัญของการปรับเปลี่ยนหลักสูตรได้อย่างรวดเร็วจากการต่อกันของ Legos ที่มาจาก OBEMs ต่างคณะต่างสาขา/ภาควิชา ทำให้เราสามารถช่วยกัน จัดการศึกษาตามโจทย์ที่เฉพาะเจาะจงของอุตสาหกรรมและความต้องการของสังคมโดยยังคงไว้ซึ่ง Rigor and Cohesionในการเรียนรู้ระดับ Higher Education ได้
3 — ผู้เรียนและการเรียนรู้ที่แตกต่างของพวกเขา
เมื่อผู้เรียนกลุ่มเดิมต้องการความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนรู้มากขึ้นในขณะที่เราทราบกันดีว่าผู้เรียนกลุ่มใหม่มีความต้องการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไปจากเดิม การออกแบบการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียนโดยใช้ Customer-centred approach ที่ผู้เรียนสามารถจัด ปรับเปลี่ยนเส้นทางการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ด้วยตนเองกลายมาเป็นหลักในการออกแบบการศึกษายุคใหม่ที่ทำให้ผู้เรียนมี “choices” หรือทางเลือกที่หลากหลายในการบริหารจัดการการเรียนรู้เพื่อให้พวกเขาทำได้ทำเป็น เร็วช้าได้แตกต่างกันตามความสามารถและความต้องการในระดับบุคคล การเลือกใช้ Flexible Delivery mode เช่น Online learning ร่วมกับการให้การรับรองความสามารถที่เล็กและเฉพาะเจาะจงกว่าปริญญา เช่น Micro-credentials ยังสร้างให้เกิดความเป็นไปได้ในการเข้าและออก จากระบบการศึกษาโดยไม่ต้องมีเทอมหรือสะสมหน่วยกิตได้ตามความสะดวกและสถานการณ์ในด้านการงาน ครอบครัวและความต้องการในการดำเนินชีวิตของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนที่ผสมผสานการทำงานและการใช้ชีวิต ของผู้เรียนนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราเริ่มคิด ออกแบบกระบวนการและบริการเพื่อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริง
4 — การสร้าง self-motivated learners ที่เราใฝ่ฝัน
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นที่ผู้เรียน โดยที่พวกเรา “ผู้สอน” (จริงๆแล้วอยากให้ผู้อ่านเลือกเองว่าอยากจะเรียกตัวเองว่าอะไร Coach, Facilitator, Educator, ครู เอาที่สบายใจเลย) เป็นคนช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้และทำได้ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าผลการเรียนรู้จะเกิดหรือไม่ ดีหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับ “ความอยากและความต้องการในการเรียนรู้” ของผู้เรียนเป็นสำคัญ การสร้างให้ผู้เรียนมีสิทธิ์ในการเลือกเป้าหมาย ความเร็วช้าและวิธีการให้เหมาะกับความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างให้เกิดอิสระในการเรียนรู้ตามความอยากและความต้องการ ของพวกเขาเอง [2] การสร้าง Path การเรียนรู้ที่เกิดจาก OBEM legos ทั้งโดยผู้เรียนเองหรือผู้ออกแบบ จะทำให้เกิดโครงสร้างการเรียนรู้และเป้าหมายที่ยืดหยุ่น หลากหลายกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละอาชีพและชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของพวกเขา
ประเด็นคาใจ
Knowledge ไม่สำคัญแล้วหรือ
ไม่มีใครบอกเลยว่าไม่สำคัญ เรากำลังชวนคิดเพื่อปรับหลักสูตรออกจากการออกแบบตาม Knowledge and Content (อย่างเดียว)เข้าสู่ การออกแบบสู่ความสามารถในการทำงานที่เป็น Competency คือมีทั้ง Knowledge, Skill, and Attribute เรากำลังชวนมองไปให้ถึงประโยชน์ ของความรู้หรือ Content เพื่อทำให้เราและผู้เรียนเข้าใจตรงกันว่าเรียนหรือรู้สิ่งนี้แล้วจะไปทำอะไรได้
เรามี Concept หลักๆ (Core concepts)ในระดับ Higher Education มากมายที่จำเป็นกับการพัฒนาความสามารถระดับสูงรวมถึงการนำไปใช้แก้ปัญหาปัจจุบัน (และปัญหาที่ยังไม่เกิด) Core concepts เหล่านี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ผู้เรียนใช้ในการเดินทางจากจุดที่ยังทำไม่ได้ สู่เป้าหมายของการทำได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามอง Knowledge and Concept เป็นเครื่องมือในการเดินทางเราจะเห็นว่าถ้าเราให้มากเกินความจำเป็นผู้เรียนจะไม่สามารถแบกเครื่องมือนี้ไปจนถึงปลายทางได้ หรืออาจจะมี Knowledge มากมายแต่ไม่มีโอกาสได้ฝึกฝนวิธีการนำไปใช้หรือใช้ไม่เป็น
Concept หรือ Knowledge/Content ที่เราให้จึงต้องน้อยที่สุด (เท่าที่จำเป็น) ที่จะทำให้การเดินทางนี้สำเร็จ และเราควรใช้เวลาส่วนมากช่วยผู้เรียนให้เข้าใจ ให้โอกาสฝึกวิธีการใช้งาน Concept เหล่านั้นในบริบทที่หลากหลายเพื่อให้มันกลายเป็นเครื่องมือที่ผู้เรียนใช้เป็น และเป็นประโยชน์กับพวกเขาได้อย่างยาวนานในอนาคต ในทางตรงกันข้ามถ้าเราสอนให้พวกเขาใช้มันอย่างผิวเผิน เครื่องมือเหล่านี้จะถูกโยนทิ้งไปอย่างรวดเร็ว (ให้นึกถึง scenario ที่ผู้เรียนลืมทุกอย่างหลังวันสอบแล้วจะเข้าใจว่า อ๋อ โยนทิ้งอย่างนี้เอง)
วิชา Prerequisite และความต่อเนื่องในการเรียนรู้
เราอาจจะไม่มีคำว่า Prerequisite Subject แต่อาจจะเปลี่ยนเป็น Prerequisite OBEM หรือเราอาจจะมีแค่ Suggested OBEMs ให้ผู้เรียนทราบว่าควรทำอะไรได้มาก่อน ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการพัฒนา OBEM นั้นๆ ว่า “ต้องมี” หรือ “ถ้ามีก็จะดีกว่า” หรือ “ไม่มีก็ไม่เป็นไร” ถ้ามัน “ต้องมี” ก็ต้องสร้าง Pathways ที่มีข้อกำหนดของการต่อกันอย่างชัดเจนว่าต้องทำตัวไหนได้ก่อน “ถ้ามีก็จะดีกว่า” ก็สามารถใส่เป็น Suggestions ได้ว่าควรทำสิ่งนี้ได้ก่อนแต่ไม่บังคับ เราเป็นผู้สร้างข้อกำหนดในการเชื่อมต่อและความสัมพันธ์ (Stackability) เหล่านี้ ซึ่งเราจะเข้าใจว่ามันต้องเป็นอย่างไรเมื่อได้ลงมือออกแบบ, พัฒนาผู้เรียน, เก็บผลป้อนกลับและเกิดการปรับปรุงการออกแบบอย่างต่อเนื่อง
ถ้าเราสามารถการันตีการทำได้ทำเป็นในแต่ละ OBEM ได้จริง เราจะระบุได้ชัดเจนขึ้นว่าความสามารถอะไร ที่ผู้เรียนต้องหรือควรมีมาก่อน และถ้าผู้เรียนยังทำสิ่งนั้น ไม่ได้ก็กลับไปฝึกฝนทำและทำสิ่งนั้น ให้ได้ ในมุมมองของผู้เรียนพวกเขาไม่ได้ “ตก” และต้องซ่อมทั้งวิชา แต่กำลังพัฒนาความสามารถที่เฉพาะ ในแต่ละ Lego เพื่อเป็นฐานให้กับการเรียนรู้ในขั้นที่สูงขึ้น จะเห็นได้ว่าความต่อเนื่องในการเรียนรู้ไม่ได้หายไปไหน มีได้ถ้าจำเป็น ผู้เรียนเลือกได้ว่าอยากเรียนต่อหรือไม่ ต่อตอนนี้หรือเมื่อเขาพร้อมในวันหน้า
เปลี่ยนทำไมในเมื่อหลักสูตรออกแบบมาดีอยู่แล้ว
ถ้าผู้ออกแบบยังเชื่อว่า “ทุกอย่าง” ที่ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร 4 ปีเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตการทำงานของผู้เรียนทุกคนทั้งหมด อยากให้ลองเอาหลักสูตรที่มีมาคิดกัน element by element ว่าอะไรควรมาก่อนหลัง แล้วเรียงหลักสูตรใหม่ตาม sequence ของการพัฒนาความสามารถสู่ emplyability ของผู้เรียนตามสายอาชีพนั้นๆ ถ้า “ทุกอย่าง” ยังต้องอยู่แบบเดิม สิ่งที่เราอาจจะเห็นเพิ่มเติมคือการเชื่อมต่อที่ชัดเจนขึ้นของ sequence ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือแยกจากกันได้ เราอาจจะค้นพบว่า “บางอย่าง” มันซ้ำซ้อน เกินความจำเป็น หรือควรปรับใหม่เพื่อเอาเวลาไปพัฒนาในจุดที่สำคัญ — ลองชวนเพื่อนๆ อาจารย์มาคิดด้วยกันดูได้ เบิกค่า Pizza ได้ที่ทีมพัฒนาการศึกษา :)
3 ความท้าทายหลัก
1 — การสอบ VS การวัดว่าทำได้หรือไม่
เราสอบไปทำไม? ถ้าเราสอบเพื่อวัดความสามารถของผู้เรียนเพื่อให้พวกเขาเอาไปใช้งานจริงได้ เราก็ควรออกแบบการวัดนี้ให้ใกล้เคียงกับการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงให้มากที่สุด ถ้าเราเขียน Essay ส่งใครโดยใช้เวลา 2 วัน ทำไมเราให้เวลาผู้เรียนแค่ 2 ชม.? ในชีวิตจริง การทำได้ทำเป็นเป็น Status ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอด ทำไม่เป็นวันนี้ วันพรุ่งนี้อาจจะทำเป็นก็ได้ ตอนสอบทำไม่ได้ นอกเวลาสอบอาจจะทำได้ก็ได้ ความรู้สึกเครียดและกดดัน (Test anxiety) ที่ต้อง Perform ด้วยความเร็วจำกัด อาจจะไม่เหมาะกับผู้เรียนบางคนก็ได้ ถ้าเราเชื่อว่าคนพัฒนาได้และทุกคนทำได้ด้วยความเร็วช้าที่แตกต่าง การวัด (เพื่อการพัฒนาและการเรียนรู้) ต้องทำให้ผู้เรียนทราบถึงระดับของการทำได้ ควรให้เวลาพอ ที่จะแสดงออกซึ่งความสามารถนั้นๆ รวมถึงมีการวางมาตรฐานของ Assessment criteria ที่เป็น Performance-based ว่าทำได้แบบไหนถึงจะมั่นใจว่าทำได้จริง (Mastery learning)
อ่านมาถึงตรงนี้ถ้าเราต้องสอบ เพื่อวัดผลการเรียนรู้กันจริงๆ เราต้องมาดูกันว่าจำเป็นไหมที่ต้องเป็นการวัดผู้เรียนทุกคนพร้อมๆ กันในเวลาที่จำกัด (Sychronous, time-based assesment) นอกจากข้อจำกัดเรื่องของเวลาแล้วเราอาจจะต้องคำนึงถึง function ของข้อสอบด้วยว่าเราออกแบบมาให้ข้อสอบแต่ละข้อวัด Learning Outcome หรือไม่ ในระดับใด เพราะถ้าให้ผู้เรียนทำข้อสอบเพื่อให้ได้ “คะแนนรวม” แต่บอกไม่ได้ว่า“คะแนนรวม”นี้แปลว่าทำอะไรได้ เราคง Track ย้อนกลับไปไม่ได้ว่าถ้าคะแนนรวมไม่ถึงเกณฑ์คือยังทำอะไรไม่ได้บ้าง ระบบการวัดแบบใช้คะแนนเป็นหลักนี้ต้องถูกใช้อย่างระวัง เพราะอาจจะสร้างให้เกิดสังคมการแข่งกันที่ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการได้เกรดและคะแนนดีๆ มากกว่าการเรียนรู้หรือการทำได้มากขึ้น เรากำลังบอกว่าถ้าคุณทำได้ B+ คุณเก่งกว่าเพื่อนคุณที่ทำได้ B หรือได้คะแนน 63 มีคุณค่ามากกว่า 62.5
เมื่อเกรดหรือคะแนนถูกตีความให้กลายเป็นคุณค่าของผู้เรียน (Selfworth) การได้เกรดมากกว่าเลยกลายเป็นสิ่งที่ fixed และเป็นเรื่องใหญ่ (Big deal) ทำให้ผู้เรียนบางคนถึงขนาดยอมทุจริตเพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา มาถึงตรงนี้เราจะไปบอกผู้เรียนว่า Hey, you are chasing the wrong thing มันก็ดูจะสายไปแล้วเพราะ Carrot ที่เราเลือกมาแขวนไว้หน้าพวกเขามันผิดอันตั้งแต่แรก
2 — เราจะบริหารจัดการเวลายังไงถ้าผู้เรียนยังทำไม่ได้
การพัฒนาผู้เรียนให้เกิด Self-paced learning ได้จริงนั้นต้องอาศัยการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็น Asynchonous mode คือผู้เรียนเรียนรู้และตรวจสอบผลการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองว่าทำได้หรือไม่ ความขัดแย้งของประเด็นตรงนี้คือจริงๆแล้ว “เรา”, ในฐานะ Expert หรือคนออกแบบการเรียนรู้, อยากเป็นคนบอกว่า “คนนี้ทำได้จริงๆ นะ” ถ้า “เรา” จะเป็นคนบอกเราคงต้องเป็นคนวัดการทำได้ทำเป็นเหล่านั้นด้วยตัวเอง ที่ตอบได้ตอนนี้คือสำหรับนักศึกษาในระบบปัจจุบันเราจะรอและพัฒนาผู้ที่ยังทำไม่ได้ต่ออีกประมาณ 2 เทอมแล้วหวังว่าผู้เรียนที่ “ตั้งใจ” จะทำได้ในระยะเวลาที่กำหนดหรืออาจจะเปลี่ยนใจเลิก Pursue การทำได้ทำเป็น นั้นๆไปเอง
สิ่งที่ทำได้อีกอย่างคือการให้ผู้เรียนเป็นผู้ Trigger หรือเป็นผู้ขอ ให้เกิดการวัดเมื่อพวกเขาพร้อม ซึ่งทำได้ในระบบ Micro-credential ที่ยอมรับการเรียนรู้ทุก Modes (Formal or Informal) ของผู้เรียนทั้งแบบที่เกิดจากการพัฒนาของ “เรา” หรือไม่ ซึ่งจะเหมาะกับการวัด Competency ที่เป็น Career specific และเห็นการทำได้ทำเป็นผ่าน ชิ้นงานหรือ Work samples โดยผู้เรียนสามารถเข้ามาส่งหลักฐานชิ้นงานเพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขาทำได้ตามข้อกำหนดที่เราสร้างไว้ มันแปลว่าเมื่อไหร่ที่พวกเขาสะสมผลงานจนพอที่จะพิสูจน์ความสามารถได้ก็ค่อยมาขอรับการรับรองตอนนั้น ซึ่งอาจจะเป็นทางออกที่สวยที่สุดกับ Self-paced assessment ที่เราไม่ต้องมานั่งพัฒนากันไปโดยที่เราไม่แน่ใจว่าผู้เรียน อยากพอ พร้อมพอในเวลาที่เรามีพอหรือไม่ เข้ามาดูว่า Micro-credentail มีหน้าตาเป็นยังไงได้ที่นี่ https://www.4lifelonglearning.org/
3 —OBEM กับ Workload
Flexibility มักจะไม่ไปด้วยกันกับ Efficiency การการันตีคุณภาพในแต่ละ OBEM ตามมาด้วยกระบวนการในการให้ Feedback และติดตามผลการเรียนรู้ที่ถี่ขึ้น ชีวิตลำบากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ท่ามกลางปัญหาของ Workload ที่เพิ่มขึ้นนี้ เรายังมีผู้กล้าที่มาร่วมบุกเบิกออกแบบ คิดวิธีการการันตีคุณภาพไปด้วยกันอย่างต่อเนื่อง พวกเขาเดินทางบนปัญหาที่เกิดจากการทำจริง ความลำบากใจในการตอบคำถามกับผู้เรียนที่ไม่เข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ความไม่พร้อมของระบบสนับสนุนและความไม่รู้ว่าต้องทำยังไงดี ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองและความอยากเปลี่ยนแปลง ว่ามีมากขนาดไหน เราอยากลุยกับปัญหาที่เกิดระหว่างทางหรือไม่
ปัญหาที่เรากำลังช่วยกันแก้นี้ทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ มากมาย ตัวอย่างเช่นการได้ลองทำ Competency Decomposition เกิดการหัดเขียน Performance Rubric เพื่อบอกระดับของความสามารถ การวางเกณฑ์การทำได้ทำเป็นเพื่อช่วยสร้างเป้าหมายที่ชัดเจนในการเรียนรู้ การเริ่มแบ่งการวัดให้เฉพาะ กับ OBEM Learning Outcome และทดลองจัดการวัดรวมกัน ตอนปลายเทอมไปก่อนกับนักศึกษาในระบบ โดยสามารถวัดแยกได้สำหรับผู้เรียนจากภายนอก การมองหาวิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆ มาวัดการเรียนรู้ เช่น Peer assessment, AI-based assessment มีทดลองหาแนวทางการแก้ปัญหาการลงทะเบียนที่ติดอยู่กับรายวิชาโดยได้ลองจัดการเรียนรู้แยกกันกับวิธีการลงทะเบียน ทดลองออกแบบและใช้ระบบใหม่เพื่อเก็บผลการเรียนรู้แยกในแต่ละ Lego รวมถึงหาวิธีการการพัฒนาและจัดให้เกิดการวัดผลสำหรับผู้เรียนที่ยังทำไม่ได้
Workload ที่เพิ่มขึ้นจากความพยายามทั้งหมดนี้เป็นเรื่องจริง โอกาสในการสร้าง Flexibility ให้เกิดกับการศึกษาไทยและผู้เรียนในอนาคตก็จริงด้วย สิ่งที่ไปด้วยกันกับ Workload และ Flexibility นี้อาจจะไม่ใช่ Efficiency แต่เป็นความภูมิใจในความพยายามที่ยิ่งใหญ่เพื่อผู้เรียน เพื่อการศึกษาไทยซึ่งบอกได้เลยว่า Priceless :)
ข้อควรระวังในการทำ OBEM
1- C คืออะไร ในการเรียนการสอนปรกติการได้ C คือผ่านแบบกลางๆ บางท่านเรียกว่า “พอใช้” แต่ใน OBEM คำว่าผ่านหมายถึงการการันตีว่า “ทำได้หรือใช้ได้” (ตามระดับความสามารถที่ระบุไว้ใน Learning Outcome) แปลว่าถ้าผู้เรียนยังทำไม่ได้ยังไงก็ไม่ผ่านถึงแม้คะแนนรวม ที่ได้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ควรผ่าน (เช่น ผู้เรียนได้มาจาก Effort และคะแนนจิตพิสัย) แต่ถ้าคะแนนที่ได้ไม่ได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการ “ทำได้” ก็แสดงว่าผู้เรียนยังไม่ผ่าน
2- การตีค่าการทำได้ทำเป็นผ่านคะแนนเป็นสิ่งที่ควรระวังเพราะเราอยากให้ผู้เรียนได้ Learning Outcome ไม่ใช่ได้คะแนน ซึ่งจริงๆ แล้ว การพยายามการันตี OBEM Learning Outcome ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคะแนนแต่อย่างใด เรากำลังชวนทุกคนวัด Learning Outcome ด้วยระดับของการทำได้ทำเป็นที่เราจะเขียนไว้ใน Rubric ซึ่งเป็นระดับของ Performance เชิงพฤติกรรม จะเห็นได้ว่าความสามรถที่แสดงออกเชิงพฤติกรรม นั้นยากมากที่จะนำไปเปรียบเทียบหรือนำมารวมกันด้วยตัวเลข ซึ่ง “ถ้า” เราจำเป็นต้องใช้คะแนนเพื่อเป็นเครื่องมือในการวัด Learning Outcome เราก็ต้องบอกได้ว่า คะแนน เท่านี้แปลว่าผู้เรียนทำได้ทำเป็นหรือไม่ ในระดับใด
3- Continuous Assessment ไม่เหมือนกันกับ Continuous Testing แปลว่าเราพยายามจะวัดการทำได้ทำเป็นเพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (Assessment for Learning)แต่ไม่ได้หมายความว่าเราต้องสอบ อย่างต่อเนื่องเสมอไป การการีนตี learning outcome สามารถทำได้หลายรูปแบบและควรถูกออกแบบโดยคำนึงผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเฉพาะผลกระทบต่อความเครียดและสุขภาพจิตโดยรวมของผู้เรียนซึ่งมีบริบทที่หลากหลาย การสอบหรือกิจกรรมใดๆที่เป็น Assessment of Learning ต้องทำอย่างระวังเพื่อไม่ให้เป็นการส่งเสริมให้เกิด Competitive culture ของการเปรียบเทียบตัวเลขหรือเกรดมากเกินกว่าความสำคัญของการเรียนรู้ของตน อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Time-based exam impact on learners ได้ที่นี่
ยากเนอะ ทำได้จริงหรือ
ถึงแม้จะฟังดูเป็นฝันที่อยู่ไกลมากแต่ความจริงแล้ว OBEM ไม่ใช่สิ่งใหม่เลยสำหรับพวกเราชาว มจธ. การจัดการศึกษาโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยากให้ผู้เรียนทำอะไรได้ ทำอะไรเป็นนั้นเป็นส่วนสำคัญของการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนในระดับวิชาในมหาวิทยาลัยมากว่า 7 ปี พวกเราเขียน Learning outcomes ออกแบบการวัดและประเมินผลเพื่อดูว่าผู้เรียน “ทำได้จริงหรือไม่” และออกแบบการพัฒนาเพื่อ “ช่วย” ให้พวกเขาทำได้จริง สิ่งเหล่านี้เป็น Backbone สำคัญของการพยายามพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นกันอยู่แล้ว
สิ่งเดียวที่เรายังติดและขวางการสร้างระบบการศึกษาให้ยืดหยุ่นและเอื้อกับผู้เรียนทุกคนได้ดีกว่านี้คือการจัดการศึกษาตาม “แกนของเวลา” ที่เราต้องช่วยกันหาวิธีการย้ายไปสู่ “แกนของความสามารถของผู้เรียน” ให้ได้ นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้เราต้องยึดการการันตี “ความสามารถหรือการทำได้ตาม Learning outcome” มากกว่าการการันตีว่าผู้เรียนจะได้เกรด(ที่มีทั้งผ่านและไม่ผ่าน) ทุกๆปลายภาคการศึกษา
การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็น Self-contained units อย่าง OBEMs จึงเป็นจุดเริ่มต้นของทางออกในการ Unbundle โครงสร้างโบราณของการจัดการศึกษาที่ยึดแกนเวลาเป็นที่ตั้ง สู่การการันตีว่า ‘เรา’ จะเป็นผู้ช่วย Coach ผู้เรียนจนกว่าจะมั่นใจว่าพวกเขาทำได้จริงในทุกความสามารถที่สำคัญต่ออาชีพที่พวกเขาใฝ่ฝัน
ถ้าเราย้ายแกนกันได้จริง เราจะมีผู้เรียนที่เข้ามาเลือกสร้างการเรียนรู้ของตัวเองจากหลายกลุ่มอาชีพ กลุ่มอายุ พวกเขาผู้มีประสบการณ์และความต้องการการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถเลือกเรียนเร็วหรือช้าได้โดยไม่จำเป็นต้องสำเร็จในเวลาเดียวกัน พวกเขาเหล่านั้นจะเข้ามาเป็น partners, co-designer, co-creator หรือเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ร่วมกับเรา สิ่งเหล่านี้จะทำให้มหาวิทยาลัยกลายเป็นศูนย์กลางของ Community สำหรับการเรียนรู้อย่างยั่งยืน การ Award credentials จะสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องในทุกช่วงอายุของการทำงาน และการศึกษาจะ Align ชัดเจนกับอาชีพทั้งที่มีอยู่แล้วและยังไม่มี เมื่อวันนั้นมาถึง เราจะพูดได้เต็มปากว่าเรา ได้มีส่วนร่วมในการช่วยประเทศไทย คนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยจะมีความหมายและมีประโยชน์กับคนจำนวนมาก
อย่าลืมว่าความอยากทำของเรา ส่งผลอย่างมากกับการออกแบบ OBEM และคุณภาพการศึกษาที่เราอยากให้เกิดขึ้น นี่เป็นการดิ้นรนเพื่อลองทำ เป็นการชวนมาลองคิดเพื่อออกแบบ หากระบวนการใหม่ให้เกิดการการันตีคุณภาพกับผู้เรียนในหลายๆ กลุ่ม เรายอมรับว่าเรายังไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร เพื่อสร้างและส่งมอบคุณค่าที่มากขึ้นให้กับลูกค้าปัจจุบันและอนาคต ที่เรารู้แน่ๆคือมันคงเป็นไปไม่ได้ถ้าเราอยากเห็นอะไรดีขึ้นโดยที่เราทำเหมือนเดิม การเดินทางครั้งนี้จะยิ่งใหญ่และยาวนาน เราอาจจะไม่เห็นปลายทางของความสำเร็จชัดๆ แต่ในระหว่างทางเราจะได้เรียนรู้ ช่วยกันแก้ปัญหาและมีโอกาสในการสร้างมิตรภาพกับผู้ร่วมเดินทางสู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษาครั้งนี้อีกมากมาย มาร่วมเดินทางไปด้วยกันได้เมื่อใจพร้อม :)
References:
[1] Wondifraw Dejene | Dorothy Chen (Reviewing editor) (2019) The practice of modularized curriculum in higher education institution: Active learning and continuous assessment in focus, Cogent Education, 6:1, DOI: 10.1080/2331186X.2019.1611052
[2] van Meel, R.M. 1993. Modularization and flexibilization. Centre for Educational Technological Innovation, Open University, The Netherlands. Available online at: http://eric.ed.gov/?id=ED374211. Accessed 28 January 2022
[3] Rich, Tony and Clive Scott. 1997. ‘Modularization and semesterization: ringing the changes.’ In Perspectives: Policy and Practice in Higher Education, 1:3, 70–76