สั้นๆดีกว่ายาวๆ — Micro videos for better learning

Klangjai S
2 min readOct 8, 2020
Micro videos for better learning — ETS KMUTT

เคยตั้งใจจะเรียนรู้อะไรจาก videos แล้วดูไม่จบมั้ยคะ? คิดว่าทุกคนคงจะเคยพยายามเรียนรู้ผ่านสื่อการสอน Online แล้วไปต่อไม่ไหวจนต้องปิดมันไป

ช่วงนี้เป็นช่วงของการปรับเปลี่ยนการศึกษาสู่ Online Education กันของเพื่อนๆอาจารย์ในหลายๆมหาวิทยาลัย จากที่เราเคยสอนผู้เรียนโดยไปยืนพูดให้เขาฟังเป็นเวลานานๆ Mode การสอนแบบนั้นต้องถูกเอามาปรับใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่ถึงแม้ว่าเราอยากให้การเรียนการสอนมันเป็นเหมือนเดิมแต่จริงๆแล้วมันไม่เหมือนเดิม

Post นี้เราจะมาคุยกันเรื่อง Videos หรือ Lectures ที่ ณ ขณะนี้พวกเราพยายามจะ “Deliver” ให้ถึงผู้เรียนผ่านช่องทางต่างๆ ปัญหาที่เราจะพูดกันวันนี้เกิดจากความพยายาม “Deliver” ข้อมูล “ให้เหมือนเดิม” ทำให้เกิด Videos ขนาดใหญ่ (ที่มีความยาวประมาณ 2-3 ชม.) จำนวนมากในระบบ ความตั้งใจของผู้สอนที่พยายามจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อส่งมอบข้อมูลให้ครบเพื่อให้ผู้เรียนที่พลาดการสอนสด (Online) ได้มาไล่ดู Lectures เก่าๆกันได้

จากข้อมูลของระบบการเรียนการสอนที่เรามี สิ่งที่เกิดแตกต่างจากความตั้งใจพอสมควร จำนวนผู้เรียนที่เข้ามาฟัง Lecture หรือ “การสอนสด” มีจำนวนน้อยมากเทียบกับจำนวนผู้เรียนทั้งหมด จำนวนการเข้าชม Video ความยาว 2–3 ชม. ยังยืนยันให้เห็นว่า Something is difinitely not working

มันเกิดอะไรขึ้น?

  • ผู้เรียนส่วนมากเข้าถึง Learning Resources ผ่านโทรศัพท์มือถือ บางคนใช้ด้วยข้อจำกัดของ Data Package, Internet Speed และ Device Memory ที่ทำให้ไม่สามารถ Download Videos ที่มีขนาดใหญ่ๆมาดูได้
  • ผู้เรียนบางส่วนอาจจะเข้าถึง Learning Resources เหล่านี้ไม่ได้เลย เนื่องจากขาดทั้งอุปกรณ์และโอกาส (เวลาและทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง) ในการเข้ามาดู Lectures
  • ถ้าเรา Post lectures อย่างเดียวโดยไม่ได้สร้าง Connections หรือ Engagement กับผู้เรียนเลย (เพราะไม่ได้พบกันบ่อยๆเหมือนเดิม) ก็เหมือนให้ผู้เรียนมาฟังใครก็ไม่รู้ พูดอะไรก็ไม่รู้ เอาไปทำไมก็ไม่รู้
  • ผู้เรียนบางส่วนอาจต้องกลับไปสู่สภาพแวดล้อมที่ไม่ได้เอื้อต่อการนั่ง Focus เรียนอะไรนานๆ อาจจะต้องมีภาระอื่นๆ เช่น ทำงานช่วยผู้ปกครอง หารายได้เพิ่ม หรืออยู่ในสภาวะที่การเรียนรู้เกิดขึ้นไม่ได้ (ไม่ใช่ทุกคนจะมีครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่พร้อม)

เราทำอะไรได้บ้าง?

ถ้าเราจำเป็นต้อง Lecture จริงๆเพราะเนื้อหาเหล่านี้ไม่สามารถไปหาได้จากที่ไหนๆได้ หรือเพราะเราอยากทำ แล้วความตั้งใจหลักของเราคืออยากให้เขาดูและเรียนรู้จาก Lectures ที่เรา Upload ไว้ นอกจากจะพยายามเข้าถึงและ Engage ผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนรู้แล้ว เราควรทำให้ Lecture เหล่านั้นน่าเรียนโดยทำให้มันสั้น กระชับและมีคุณภาพ ที่ง่ายที่สุดและทำได้ก่อนเลยคือ ทำให้มันสั้นๆ

ข้อดีของการสร้าง Videos สั้นๆ

สำหรับผู้เรียน

1- สื่อการสอนที่สั้นๆช่วยสร้างโอกาสให้เกิดการดูจนจบและอยากดูเพิ่มอีก ทำให้ผู้เรียนไม่พลาดโอกาสในการเรียนรู้ในเรื่องสำคัญ หรือหมดกำลังใจในการดูเพราะเวลาว่างที่จำกัด

2- เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการ Recall ข้อมูลที่เคยเรียนมาแล้ว ผู้เรียนสามารถไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการหรือยังไม่เข้าใจได้รวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าถึงโดยไม่จำเป็นต้องมานั่งค้นหาจากสื่อที่ยาวเป็นชั่วโมงๆ — (ถ้าเคยต้องลองไป Rewind Videos จาก CCTV records เพื่อหาอะไรซักอย่างแล้วจะเข้าใจว่ามันน่าเบื่อขนาดไหน)

3- สื่อการสอนที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆที่เข้าใจได้จะช่วยให้ผู้เรียนเห็นโครงสร้างของ Concept ได้จากโครงสร้างของ Videos ซึ่งช่วยให้พวกเขาได้ใช้โครงสร้างเหล่านั้นในการสร้างความเชื่อมต่อที่นำไปสู่ความเข้าใจได้ง่ายกว่าการให้ข้อมูลที่ซับซ้อน มากเกินไป หรือยาวเกินไป (Help them with higher level knowledge organization)

สำหรับผู้สอน

1- เวลาที่จำกัดทำให้เราบังคับตัวเองให้พูดแต่สิ่งสำคัญ เลือกและจัดลำดับการพูดเพื่อ Maximise ให้สื่อที่เราสร้างเกิดประโยชน์สูงสุด

2-ให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจและสร้าง Engagement กับเนื้อหาได้ดีกว่า เพราะการที่ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาย่อยๆก่อนทำให้เกิด Small wins หรือความรู้สึกซึ่งความสำเร็จในการเรียนรู้และความมั่นใจในการศึกษาสิ่งที่ยากขึ้นไปอีก

3- สื่อการสอนที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนสั้นๆสามารถนำไปปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขเฉพาะจุดและนำ Reuse ได้ง่ายกว่า ลดการทำสื่อการสอนในเรื่องซ้ำๆ และเพิ่ม Utilisation และคุณค่าของ Learning Resources ที่เราผลิตขึ้นมา

ทำยังไงให้มันสั้น?

1- ถ้าเพื่อนๆอาจารย์มี Video ยาวๆอยู่แล้วอยากจะลองเอาไปตัดต่อให้เป็นแบบสั้นๆดูก็ได้ค่ะ ตัดต่อ Videos ไม่เป็น? เรียนรู้วิธีการตัดต่อ Video อย่างง่ายที่ ETS

2- ตั้งใจทำให้สั้นไปเล้ยยย —เป็นวิธีที่ดีที่สุด! เพราะเราจะได้ Video ที่สั้นอย่างตั้งใจ ไม่ใช่ยาวแล้วเอามาซอยเป็นอันเล็กๆ ลองมาดูตัวอย่างวิธีการทำกันดู

  • เอาเนื้อหาที่จะสอนทั้งหมดมาดู ตัดน้ำออก เอาแต่เนื้อและตัวอย่างที่จำเป็น
  • เอาส่วนที่เป็น Core Concept มาวาดให้เห็นโครงสร้างของเนื้อหาสั้นๆโดยให้แต่ละส่วนมี Learning Outcome หรือ Key message เพียง 1 ตัว และเรียงลำดับว่าอะไรควรอยู่ก่อนหลัง (ลองใช้เครื่องมือช่วยก็ได้ ทำใส่ Mindmap วาดเป็น flow diagram เอาที่ถนัด)
  • ลองตั้งใจพูดเพื่ออธิบาย Key message ทีละตัว ตัวละ 1 Video โดยใช้เวลาพูดประมาณ 6–15 นาที อัดโดยใช้ Zoom, MSTeam, Loom รึว่า โทรศัพท์ก็ได้ จะมีภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องเครื่องมือในการสร้าง Video ด้วยตัวเองที่ ETS.kmutt.ac.th)

*note: เราจะไม่กังวลมากไปกับการตัดต่อ Video ให้ Perfect เพราะสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือการช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ทันต่อความต้องการของพวกเขา

สั้นอย่างเดียวพอเหรอ?

ทุกคนรู้คำตอบกันอยู่แล้วว่า Video ที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยาวสั้นอย่างเดียว “คุณภาพ” ของ Video เป็นปัจจัยหลักในการสร้างให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีอะไรอีกเยอะแยะที่เราทำได้ถ้ามีเวลา เช่น

  • ทำ Caption เพิ่มให้ผู้เรียนอ่านตามไปได้ง่ายๆ (จากการสำรวจผู้เรียนในการทดลองที่ University of Wisconsin — Stout พบว่า 80% ของผู้เรียนมองว่า Video Captions มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้)
  • การใช้รูปภาพประกอบ ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบเพื่อช่วยอธิบาย Concept ต่างๆ ทำให้ Video น่าสนใจและง่ายต่อการจดจำ
  • ทำให้ Video อยู่ในรูปแบบที่ Mobile Friendly ไม่ใส่รายละเอียดมากเกินไปจนดูบนโทรศัพท์มือถือไม่รู้เรื่อง
  • คุณภาพของเสียงพูด และสิ่งแวดล้อมในการอัดที่ลดเสียงรบกวน
  • Background ด้านหลังที่มีความเป็น Professional และเหมาะสมกับการเรียนรู้
  • Etc.

ครั้งหน้าถ้าอยากจะลองอัดการสอนให้เป็น Videos สั้นๆดูลองเข้าไปดู Feature LEB2 Learnit ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการจัดการโครงสร้าง Microvideos โดยเฉพาะ :)

สรุปว่า Short videos are super awesome!!

References

  • Guo, P. J., Kim, J. & Rubin, R. (2014). How video production affects student engagement: An empirical study of mooc videos. Proceedings of the first ACM conference on Learning@ scale conference (p./pp. 41–50), .
  • Carey, B. (2014). How we learn: The surprising truth about when, where, and why it happens.
  • Richard Berg, Ann Brand, Jennifer Grant, John S. Kirk, and Todd Zimmerman (February 1, 2014). Leveraging Recorded Mini-Lectures to Increase Student Learning. The Teaching Professor. Online Classroom. Vol. 14, Issue 2, p. 5.

--

--

Klangjai S

Assistant to the president for educational development, KMUTT, Director of Education Technology Integration and Service -ETS, 4lifelonglearning-Microcredentail